วารสารออนไลน์ : ชุมชนวิจัยครูและบุคลากรทางการศึกษา
--------------------------------------------
วารสารออนไลน์
: ชุมชนวิจัยครูและบุคลากรทางการศึกษาเกิดจากการรวมตัวของนักวิชาการทางการศึกษา
ที่มองเห็นปัญหาอุปสรรคของครูในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เนื่องจากเว็บไซต์โดยทั่วไปที่บริการเผยแพร่ผลงานไม่มีการกลั่นกรองบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ และหากจะเผยแพร่ในวารสารที่มีการกลั่นกรองบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ที่ต้องการเผยแพร่ผลงานต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูง
และใช้เวลารอนาน จากเหตุดังกล่าวนักวิชาการกลุ่มหนึ่งจึงจัดตั้งวารสารออนไลน์
: ชุมชนวิจัยครูและบุคลากรทางการศึกษาขึ้น
รูปแบบการพิมพ์บทความในวารสารทั่วไปที่มักจะแบ่งการพิมพ์เป็น 2 คอลัมน์ และข้อความใช้ตัวอักษรขนาด 15 แต่เพื่อความสะดวกต่อผู้เข้ามาชมวารสารออนไลน์ : ชุมชนวิจัยครูและบุคลากรทางการศึกษานี้ ซึ่งใช้การอ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงให้จัดพิมพ์เป็นคอลัมน์เดียว และใช้ Font Angsana new (ตัวอักษร 16) ตลอดบทความ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีศักยภาพในการเขียนบทความวิจัย และบทความวิชาการ
2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการ
ทางการศึกษา
บรรณาธิการ
ว่าที่ ร.ต. ดร.
ประสิทธิ์ รัตนสุภา เลขที่ 142/57
ซอย 4หมู่บ้านในสวน ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ
เมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 93000 E_mail : drprasitra@gmail.com
โทร 081 5998282
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นกรองต้นฉบับ (Pear Review)
ว่าที่ ร.ต. ดร. ประสิทธิ์ รัตนสุภา
อดีต รองผอ.สพม.12 วิทยฐานะรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชำนาญการพิเศษ วุฒิปริญญาเอกทางการศึกษา
ดร.สุภาพ เต็มรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโศภนคณาภรณ์ วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ วุฒิปริญญาเอกทางการวิจัย
ดร.จำเริญ จิตรหลัง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาหลัก วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ วุฒิปริญญาเอกบริหารการศึกษา
นายวิรัตน์ บัวขาว ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีบรรพตพิทยาคม วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ
วุฒิปริญญาโทบริหารการศึกษา
นายการุณ ชูช่วย รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม
วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ วุฒิปริญญาโทบริหารการศึกษา
นางสุยิน รัตนสุภา อดีตครูโรงเรียนพัทลุง
วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ วุฒิปริญญาโทหลักสูตรและการสอน
สิทธิของบรรณาธิการ
1. ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้กลั่นกรองบทความวิจัย
หรือบทความวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขข้อบกพร่อง ทางบรรณาธิการ จะส่งต้นฉบับ
และข้อเสนอแนะให้ผู้เขียนเพื่อปรับปรุงแก้ไขทาง E_mail ทั้งนี้บรรณาธิการจะยึดถือความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นเกณฑ์
2.
บทความทุกเรื่องก่อนที่จะทำการเผยแพร่จะต้องผ่านการกลั่นกรองเพื่อตรวจความถูกต้องทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิเมื่อเจ้าของบทความได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะแล้วบรรณาธิการจะทำการเผยแพร่ในบล็อก teacher-journalonline.blogspot.com ชื่อวารสารออนไลน์
: ชุมชนวิจัยครูและบุคลากรทางการศึกษา ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับบทความที่ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว
3. ข้อความ และบทความเป็นแนวคิดและความรับผิดชอบของผู้เขียน
มิใช่เป็นของผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบรรณาธิการ
การส่งต้นฉบับ – และเงินสมนาคุณผู้กลั่นกรองบทความ
1.ให้ส่งต้นฉบับที่พิมพ์ด้วย word (ตั้งชื่อไฟล์เป็นชื่อผู้เขียน) พร้อมแบบนำส่ง
ที่พิมพ์ด้วย word และหลักฐานการโอนเงิน
ทาง E_mail : drprasitra@gmail.com
(ก่อนส่งควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ
และภาษาไทย ตรวจสอบการใช้ภาษา สำนวน คำ การเว้นวรรค ฯ)
2.
ชำระเงินสมนาคุณผู้ทรงคุณวุฒิในการกลั่นกรองบทความเรื่องละ 350
บาท (ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเชิญมาเป็น Pear Review และผู้สนับสนุน ไม่ต้องชำระ) โดยโอนเงินเข้าบัญชี
ธนาคารกรุงไทย สาขาพัทลุง เลขที่ 908
– 1 – 41394 - 5 บัญชีพร้อมเพย์หมายเลข 0815998282(ธนาคารไม่คิดค่าโอน) ชื่อบัญชี
ว่าที่ ร.ต. ประสิทธิ์ รัตนสุภา
3.แบบนำส่งบทความ
แบบนำส่งบทความวารสารออนไลน์ : ชุมชนวิจัยครูและบุคลากรทางการศึกษา
(teacher-journalonline.blogspot.com)
สถานที่…………………….
วันที่ ....................................
เรื่อง นำส่งบทความเพื่อเผยแพร่ในวารสารออนไลน์
: ชุมชนวิจัยครูและ
บุคลากรทางการศึกษา (teacher-journalonline.blogspot.com)
เรียน
บรรณาธิการวารสารออนไลน์ : ชุมชนวิจัยครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา
สิ่งที่ส่งมาด้วย บทความ จำนวน 1 เรื่อง
ข้าพเจ้า...................................... E_mail ……………………………….โทรศัพท์...........................สถานที่ทำงานโรงเรียน/ หน่วยงาน .............. อำเภอ...........................จังหวัด........................รหัสไปรษณีย์…………..
มีความประสงค์เผยแพร่บทความ (
) บทความวิจัย( ) บทความวิชาการ ในบล็อก teacher-journalonline.blogspot.com ชื่อวารสารออนไลน์ : ชุมชนวิจัยครูและบุคลากรทางการศึกษา
ชื่อบทความภาษาไทย).....................................................................
ชื่อบทความ(ภาษาอังกฤษ)................................................................
ได้โอนเงินสมนาคุณผู้กลั่นกรองบทความ
จำนวน 350 บาทแล้ว เมื่อวันที่................ธนาคาร..........................(ตามหลักฐานดังแนบ) เงินสมนาคุณนี้ไม่มีการคืน ถึงแม้ว่าบทความไม่ได้รับการพิจารณาให้เผยแพร่เนื่องจากเงินสมนาคุณนี้ถูกจ่ายให้กับผู้ทรงคุณวุฒิไปแล้ว.
|
ลงชื่อ.....................................
วันที่ ...... เดือน...................... พ.ศ..............
รูปแบบการเขียนบทความ
1.รูปแบบการเขียนบทความวิจัย
ใช้ Font
Angsana new ตัวอักษร 16 ทั้งบทความ เน้นตัวอักษรหนาเฉพาะที่กำหนดในรูปแบบนี้ ความยาวไม่เกิน
15 หน้ากระดาษ A 4 ตั้งค่าหน้ากระดาษ A
4 ดังนี้ บนและซ้าย 3.75 ซม. (1.5 นิ้ว) ล่างและขวา 2.5 ซม. (1
นิ้ว)
ชื่อเรื่องภาษาไทย
(ตัวอักษรหนา)
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
(ตัวอักษรหนา )
เว้น 1 บรรทัด
ชื่อผู้เขียน ……..……. E_mail : …………
โรงเรียน/หน่วยงาน ...................
จังหวัด ……………..
.เว้น 1 บรรทัด
บทคัดย่อ (ตัวอักษรหนา)
การวิจัยครั้งนี้
เป็นการวิจัยเชิง............ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) .........(2) ..........
และ (3) ..........
(ระบุประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
บอกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และ/หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีวิเคราะห์ข้อมูล) ผลการวิจัยพบว่า/ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
(1) .........(2) .......... และ (3) ..........
(เนื้อหาไม่เกิน 15 บรรทัด )
เว้น 1 บรรทัด
คำสำคัญ(ตัวอักษรหนา): คำสำคัญ
เว้น 1 บรรทัด
Abstract (ตัวอักษรหนา)
The purpose of this research were as follows:
(เนื้อหาตรงกับบทคัดย่อ)
เว้น 1 บรรทัด
Keywords (ตัวอักษรหนา): คำสำคัญเป็นภาษาอังกฤษ
เว้น 1 บรรทัด
บทนำ (ตัวอักษรหนา)
- ควรมีที่มาของภูมิหลัง ปัญหาการวิจัย
มีการอ้างอิงข้อมูลให้ชัดเจน
- มีการทบทวนวรรณกรรมซึ่งเป็นที่มาของแนวคิด
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จะรวมไว้เป็นความนำหรือแยกเป็นหัวข้อต่างหากก็ได้
เว้น 1 บรรทัด
วัตถุประสงค์การวิจัย (ตัวอักษรหนา)
ข้อความ
เว้น 1 บรรทัด
กรอบแนวคิดการวิจัย (ตัวอักษรหนา)
ข้อความ
เว้น 1 บรรทัด
สมมติฐานการวิจัย (ตัวอักษรหนา)
ข้อความ
เว้น 1 บรรทัด
ขอบเขตของการวิจัย (ตัวอักษรหนา)
เช่นขอบเขตด้านเนื้อหา
ขอบเขตด้านเวลา ฯ
เว้น 1 บรรทัด
วิธีดำเนินการวิจัย (ตัวอักษรหนา)
ควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีวิจัยและการดำเนินการวิจัย เช่น
ประชากร
กลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และการเก็บรวบรวมข้อมูล (หากเป็นแบบสอบถาม
ควรใส่จำนวนข้อ) และการหาค่าความเชื่อมั่น
การวิเคราะห์และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เว้น 1 บรรทัด
ผลการวิจัย (ตัวอักษรหนา)
ให้รายละเอียดที่เป็นผลการวิจัย ควรรายงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
เว้น 1 บรรทัด
การอภิปรายผล (ตัวอักษรหนา)
ผลการวิจัย มีประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปราย
-ควรมีการอ้างอิงแนวคิดหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
เว้น 1 บรรทัด
ข้อเสนอแนะ (ตัวอักษรหนา)
(มีหรือไม่มีก็ได้)
ควรเป็นข้อเสนอแนะที่มีเหตุเนื่องจากข้อจำกัดของการวิจัย
เว้น 1 บรรทัด
เอกสารอ้างอิง (ตัวอักษรหนา)
เอกสารอ้างอิงนำมาเฉพาะส่วนที่ปรากฏในบทความนี้เท่านั้น
(เฉพาะรายการที่ปรากฏในอ้างอิงในเท่านั้น) ใช้ระบบ APA (ยึดรูปแบบจากมหาวิทยาลัยใดมหาวิทยาลัยหนึ่งแบบเดียวกันตลอด)
2.รูปแบบการเขียนบทความวิชาการ
ใช้ Font
Angsana new ตัวอักษร 16 ทั้งบทความ เน้นตัวอักษรหนาเฉพาะที่กำหนดในรูปแบบนี้ ความยาวไม่เกิน
15 หน้ากระดาษ A 4 ตั้งค่าหน้ากระดาษ A
4 ดังนี้ บนและซ้าย 3.75 ซม. (1.5 นิ้ว) ล่างและขวา 2.5 ซม. (1
นิ้ว)
ชื่อเรื่องภาษาไทย
(ตัวอักษรหนา)
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
(ตัวอักษรหนา)
เว้น 1 บรรทัด
ชื่อผู้เขียน ……..……. E_mail : …………
โรงเรียน/หน่วยงาน .............
จังหวัด ……
.เว้น 1 บรรทัด
บทคัดย่อ (ตัวอักษรหนา)
เนื้อหาไม่เกิน 15 บรรทัด
เว้น 1 บรรทัด
คำสำคัญ (ตัวอักษรหนา): คำสำคัญ
เว้น 1 บรรทัด
Abstract (ตัวอักษรหนา)
เนื้อหาตรงกับบทคัดย่อ
เว้น 1 บรรทัด
Keywords (ตัวอักษรหนา): คำสำคัญเป็นภาษาอังกฤษ
เว้น 1 บรรทัด
บทนำ (ตัวอักษรหนา)
ข้อความ
เว้น 1 บรรทัด
สาระ (ตัวอักษรหนา)
ข้อความ
เว้น 1 บรรทัด
บทสรุป (ตัวอักษรหนา)
ข้อความ
เว้น 1 บรรทัด
เอกสารอ้างอิง (ตัวอักษรหนา)
เอกสารอ้างอิงนำมาเฉพาะส่วนที่ปรากฏในบทความนี้เท่านั้น
(เฉพาะรายที่ปรากฏในอ้างอิงในเท่านั้น) ใช้ระบบ APA (ยึดรูปแบบจากมหาวิทยาลัยใดมหาวิทยาลัยหนึ่งแบบเดียวกันตลอด)
บรรณาธิการ
23 มิ.ย. 2559
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น